วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



นิโรธสัจ

          คำว่า นิโรธสัจ สัจจะคือความจริงอย่างประเสริฐนี้ นิโรธนั้น มายถึง ความดับที่ว่านี้ หมายถึง ความดับสมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ดับอภิวิชชา กิเลส ตัณหา อุปทาน รวมตลอดไปถึงดับ ภพดับชาติ ความเกิดใหม่ โดยมีเหตุปัจจัยได้แก่ อวิชชาตัณหาเป็นต้น ให้หมดสิ้นไป ตามระดับภูมิธรรมที่ปฎิบัติได้
          เมื่อกล่าวถึง นิโรธ คือ ความดับ ในทางปฎิบัติก็ หมายถึงว่า เมื่อ พระโยคาวจร คือ ผู้ปฎิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน ได้พิจารณาสภาวธรรม ได้แก่ สังขารธรรมทั้งปวงที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ว่าประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร มีสามัญลักษณะคือความเป็นอนิจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร เห็นแจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ หรือ เรียกว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่เสมอกันขอลธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง  ที่มีวิญญาณครอง ชื่อว่า อุปทาทินนกสังขาร ที่ไม่มีวิญญานครองชื่อ 
อนุปาิทินนกสังขาร  ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร นั่นชื่อว่า วิปัสนาปัญญา คือ ปัญญาอันเห็นแจ้งชัดในความเป็นธรรมดาของสังขาร ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลาย ทั้งปวงว่า มีสภาพที่มิใช่เป้นตัวตน บุคคล เราเขา ของเรา ของเขา อย่างแท้จริง หรือที่เที่ยงแท้แน่นอน
          เมื่อรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ ดังกล่าวแล้ว พระโยคาวจร ย่อมเจริญสมถวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไป ถึงเห้นแจ้งแทงตลอด ในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัย นิโรธ มรรค เพื่อกำหมดรู้ความจริงอย่างประเสริฐ ในเรื่องของทุกข์ สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ กล่าวคือ สภาวะที่ดับทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ว่ามีจริงอย่างไร ไปจนถึง มรรคสัจ คือกำหนดรุ้ความจริงอย่างประเสริฐในหนทางปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างนี้ชื่อว่าความรู้แจ้งตลอดในพระอริยสัจททั้ง ๔ ในเบื้องต้นกำหนดรู้ว่ามีจริงอย่างไรนั้นชื่อว่า สัจญาณ และพึงกระทำอย่างไรต่อไป คือ กำหนดรู้ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป
ชื่อว่า กิจญาณ และกำหนดรู้ว่าได้ไปทำอย่างไร ได้ผลดีเพียงไรแล้ว คือว่า ทุกข์กำจัดได้แล้ว สมุทัยได้แล้ว นิโรธทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคทำให้เกิดและเจริญได้



อ้างอิง

สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ/เอกสาร
ชื่อหนังสือ : อริยะสัจ ๔
ผู้แต่ง : พระมหาเสริมชัย ชยมงคโล ป.ธ.๖